เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง
เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ
หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง
แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ
รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
ญาณในโวทาน 13 ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ 4 จบ
ภาณวารจบ

5. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[163] ญาณในการทำสติ 32 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์1
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ
1. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
2. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
3. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
4. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เชิงอรรถ :
1 นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. 1/165/445)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :254 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
5. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
6. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”
7. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
8. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
9. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า”
10. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก”
11. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า”
12. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก”
13. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า”
14. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก”
15. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า”
16. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก”
17. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า”
18. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก”
19. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า”
20. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก”
21. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า”
22. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก”
23. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า”
24. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก”
25. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
26. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก”
27. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
28. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก”
29. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า”
30. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก”
31. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
32. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :255 }